• Home
  • PCQI
  • ผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทยเมื่ออเมริกาถอนตัวจาก WHO

HACCP CODEX เป็นมาตรฐานคณะกรรมาธิการร่วม FAO และ WHO แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออเมริกาที่เป็นผู้บริจาคเงินให้ WHO สูงที่สุดถึง 18% ถอนตัวออกจาก WHO

องค์การอนามัยโลกมีบทบาทสำคัญในการประกาศระเบียบและมาตรฐานอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหกรรมที่ผลิตสินค้ามีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารและยา สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกอาหารไทยก็คือมาตรฐาน HACCP Codex   คำว่า Codex เป็นชื่อใช้เรียกคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission – CAC) ซึ่งเป็นที่ยอมรับขององค์การการค้าโลก ประเทศ เป็นคณะกรรมการภายใต้ความร่วมมือขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานอาหารให้เป็นมาตรฐานสากล คำว่า “Codex” เป็นคำที่ใช้เรียก “Codex Alimentarius” ซึ่งมาจากภาษาละติน หมายถึง “Food Code”    HACCP ที่เราอบรมกันและใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายก็เป็น HACCP Codex  แล้วจะเกิดอะไรขึ้นจาก อเมริกาออกจากองค์การอนามัยโลก  จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้ส่งออกอาหารไทย

การประกาศถอนตัวออกจากสมาชิกองค์การอนามัยโลก WHO ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดขึ้นแล้วแต่ประธานาธิบดี  โจ ไบเด็น ได้ประกาศยกเลิก และนำอเมริกาเข้าเป็นสมาชิกหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่อง จากตามกฎหมาย การประกาศถอนตัวต้องแจ้งล่วงหน้า 1 ปี มาคราวนี้ประธานธิบดีประกาศทันทีหลังจากเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งซึ่งก็น่าจะเกิดขึ้นจริงๆ 

HACCP ที่เราอบรมกันและใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายก็เป็น HACCP Codex  แล้วจะเกิดอะไรขึ้นจาก อเมริกาออกจากองค์การอนามัยโลก  จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้ส่งออกอาหารไทย การจะมีผลกระทบอย่างไรต่อการทำงานในองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องคงต้องติดตามดูกันต่อไป แต่ในส่วนของผู้ส่งออกในแง่ของมาตรฐานและกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติเมื่อต้องส่งออกอาหารไปอเมริกาก็คงไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก เพราะในปัจจุบัน การส่งออกอาหารไปสหรัฐอเมริกา ผู้ส่งออกก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เช่น การส่งออกอาหารทะเลก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเรื่อง Seafood HACCP  (21 CFR Part 123) การส่งออกน้ำผลไม้ก็ต้องปฏิบัติตาม Juice HACCP (21 CFR Part 120) การส่งออกอาหารฆ่าเชื้อในภาชนะปิดสนิทชนิดกรดต่ำ  Low Acid Can Food (LACF) ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ  21 CFR Part 123 หรือ กรณีอาหารแปรรูปทั่วไป ก็ต้องปฏิบัติตาม Current GM, Hazard Analysis and Risk Based Preventive Controls  (21 CFR Part 117) เป็นต้น การนำมาตรฐานของเอกชนไปอ้างอิงทีนิยมทำกันเมื่อส่งออาหารไปจำหน่ายในสหภพาพยุโรป แต่เมื่อส่งไปขายในประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีการปฏบัติต่างกันโดยสิ้นเชิง การนำมาตรฐานเอกชนไปอ้างอิงกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามักไม่ได้ผล  ผู้ส่งออกต้องอ้างอิงกฎหมายและ Guidance ของ U.S.FDA  เป็นสำคัญ ผู้ที่มีประสบการณ์ส่งออกอาหารไปไปสหรัฐอเมริกาจะทราบเรื่องเหล่านี้ดีอยู่แล้ว

ประธานาธิบดีประกาศพาสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลกก็คงไม่ได้ส่งผลกระทบในสิ่งที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสำหรับผู้ส่งออกอาหารไปสหรัฐอเมริกา  แต่ผลกระทบเรื่องอื่นๆ ก็คงต้องดูกันต่อไป

 
ติดตามข่าวสาร update แวดวงอุตสาหกรรมอาหาร และประกาศกำหนดการจัดอบรมจาก FOODPRO ACADEMY ติดตามได้ที่  LINE ID: @foodpro หรือ คลิกเพื่อติดตามทางไลน์
หรือสแกน QR Code ด้านล่างเพื่อติดตาม
อบรม PCQI ตาม FSMA: FSPCA Preventive Controls for Human Food V.2.0 พ.ค. – มิ.ย. 68 (มี 4 รอบ)
อบรม FSPCA Preventive Controls for Animal Food 5-7 ก.พ. 68 ออนไลน์​ ZOOM
รับจดทะเบียน U.S. FDA และที่ปรึกษาเพื่อส่งออกอาหารไปอเมริกา
การอบรม Seafood HACCP หลักสูตร US FDA รับรอง

Share this post

Subscribe to our newsletter

Keep up with the latest blog posts by staying updated. No spamming: we promise.
By clicking Sign Up you’re confirming that you agree with our Terms and Conditions.

Related posts