• Home
  • Uncategorized
  • Non-Vegetarian, Vegetarian และ Vegan 3 คำนี้ต่างกันอย่างไร

เมื่อกำหนดให้ระบุฉลาก Non-Vegetarian, Vegetarian และ Vegan  มาดูกันว่า 3 คำนี้ต่างกันอย่างไร

ตามที่คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Decision (EU) 2018/1701 ขึ้นบัญชีการริเริ่มข้อเสนอจากประชากรของสหภาพยุโรปคือ Mandatory food labelling Non-Vegetarian/Vegetarian/Vegan เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561  ที่เป็นข้อเสนอให้บังคับการติดฉลากระบุชนิดของอาหาร 3 ประเภท ได้แก่ อาหารที่ไม่ใช่มังสวิรัติ อาหารมังสวิรัติ และอาหารวีแกน (อาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากพืชเท่านั้น) เพื่อสร้างความชัดเจนให้แก่ผู้บริโภค โดยประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เรามาดูกันว่าอาหาร 3 ประเภทนี้ต่างกันอย่างไร

กลุ่มที่ 1 Non-Vegetarian อาหารที่ไม่ใช่มังสวิรัติ อาหารกลุ่มนี้ คงไม่ได้มีความสับสนกันเท่าไร ก็เป็นอาหารทั่วๆ ไปที่มีเนื้อสัตว์ และส่วนผสมต่างๆ จากสัตว์ได้ตามปกติ

กลุ่มที่ 2 Vegetarian  อาหารมังสวิรัติ เป็นอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ แต่มีนม ไข่ ชีส ได้ หากเรียนกลุ่มย่อยลงไปก็มี กลุ่มมังสวิรัติที่เรียกว่า Lacto-ovo vegetarian ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่สามารถกินนมและไข่ได้ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากสัตว์บางชนิดเช่น ชีส นม น้ำผึ้ง เจลาติน กลุ่มมังสวิรัติที่เรียกว่า  Ovo Vegetarian คือ การงดเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ แต่สามารถกินไข่ได้ กลุ่มมังสวิรัติที่เรียกว่า Lacto Vegetarian คือ การงดเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ แต่สามารถกินนมและผลิตภัณฑ์จากนมได้ อย่างไรก็ตามหากเราพูดถึงอาหารมังสวิรัติ หมายถึง Vegetarian ทั่วๆ ไปที่รับประทานผัก อาหารที่ไม่ส่วนผสมของเนื้อสัตว์ แต่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เช่น นม ไข่ ได้  

กลุ่มที่ 3 Vegan  อาหารวีแกน หรืออาหารมังสวิรัติบริสุทธิ์ เป็นอาหารที่ไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิด มีเฉพาะผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์จากพืชเท่านั้น ซึ่งผู้รับประทานอาหารกลุ่มวิแกนนี้นอกจากระมัดระวังอาหารที่เป็นวีแกนแล้ว ยังไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากสัตว์ทั้งทางตรงและอ้อม เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ด้วยความเชื่อเรื่องการไม่เบียดเบียนสัตว์อีกด้วย อย่างไรก็ตามอาหารวีแกน ไม่ได้ยกเว้นผักที่มีกลิ่นฉุน 5 ชนิด (กระเทียม, หัวหอม, หลักเกียว, กุยช่าย และใบยาสูบ ) เหมือนที่เป็นผักต้องห้ามของอาหารเจแต่อย่างใด

ผู้ส่งออกอาหารไปสหรัฐอเมริกาหรือผู้สนใจอบรมเป็น PCQI ในอุตสาหกรรมอาหาร หลักสูตร FPSCA Preventive Controls for Human Food ตามกฎหมาย Food Safety Modernization Act (FSMA) รอบต่อไป https://www.foodpro.co.th/pcqi/

อ่าน PCQI คือใคร ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต้องมี pcqi

Share this post

Subscribe to our newsletter

Keep up with the latest blog posts by staying updated. No spamming: we promise.
By clicking Sign Up you’re confirming that you agree with our Terms and Conditions.

Related posts