• Home
  • Consultant
  • ทำไมถึงคิดไม่ผิดที่เรียน Food Science

    

ผลิต คิวซี คิวเอ  R&D  5 ฝ่ายงานหลักที่คบจบ Food Science  & Tehnology อุตสาหกรรมเกษตร หรือใกล้เคียง เข้าไปทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร ยาวนานต่อเนื่องมากว่า 40 ปีแล้ว ปัจจุบันจะมีตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่รองรับมากกว่าตำแหน่งเหล่าอีกบ้างหรือไม่ จริงๆแล้วงาน Food  Science ที่มีค่าตอบแทนสูง ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่เรียนมา ทำแล้วมีความสุข สามารถจัดสรรเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนได้นั้นมีหรือไม่  บทความนี้ยาวหน่อยขอให้อดทนอ่านถึงย่อหน้าสุดท้าย จะได้คำตอบ

ยุคบุกเบิก ก่อนที่ 2520-2520

ก่อนปี 2520-2520 รุ่นพี่รุ่นแรก ๆ ที่จบ Food Science  หรือ อ.ก. จากสถาบันการศึกษาต่างๅ  แน่นอนว่าต้องเจอกับความท้าทายในการแนะนำสาขา Food Science และศักยภาพความสามารถของคนจบ Food Science กับภาคอุตสาหกรรมให้รู้จักและยอมรับ  การเปลี่ยน Mindset ของนักธุรกิจที่เขาดำเนินกิจการโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมาก่อนจากองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่สะสมกันมาหลายสิบปี และก็ทำได้ดีอยู่เสียด้วย ให้มายอมรับบัณฑิต Food Science ทีไม่เคยมีมาก่อนเข้าไปทำงานก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยความทุ่มเทของอาจารย์และรุ่นพี่  Food Scienceในยุคบุกเบิก สุดท้ายก็ทำให้ Food Science เป็นที่รู้จัก คนจบ Food Science รุ่นพี่รุ่นแรก ๆ ได้สร้างคุณูปการให้กับวงการอุตสาหกรรมอาหาร ท่านเหล่านี้ได้เข้าไปมีบทบาทในการวางรากฐานสำคัญในพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร วงการศึกษาและรัฐวิสาหกิจด้านอาหาร ซึ่งแน่นอนว่าคนที่จบรุ่นก่อน 2520 นั้นปลดเกษียณกันหมดแล้ว แต่บางท่านอาจจะยังเสียสละเวลามาช่วยเป็นที่ปรึกษาขององค์กรที่พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารหรือผู้ทรงคุณวุฒิในสภาสถาบันอุดมศึกษา

ยุคเจริญเติบโต 2521-2530

ยุค 2521-2530 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวกระโดดในการทำงาน Food Science ในประเทศไทย สิ่งที่รุ่นพี่รุ่นเก่าได้เริ่มต้นไว้ทำให้น้อง ๆ รุ่นหลัง ๆ เหนื่อยน้อยลง เพราะอาศัยเส้นทางที่รุ่นพี่กรุยไว้ให้แล้ว อุตสาหกรรมอาหารเริ่มรู้จัก Food Science  และเห็นความสำคัญของ Food Science กันมากขึ้นทำให้สาขา Food Science เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรม

คบจบ Food Science ในยุคก่อนมี 2520 มาเป็นอาจารย์และเริ่มผลิตบัณฑิต Food Science  กันมากขึ้น  การเข้าเรียนในยุคนี้มีการแข่งขันสูงมาก คนเก่ง ๆ เข้าสู่วงการอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น คนจบ Food Science มีการเตรียมพัฒนากำลังคนไดยให้ทุนพัฒนาบุคลการไปเรียนต่อระดับปริญญาโท -เอกในต่างประเทศ แล้วกลับมาพัฒนาสร้างคุณูปการต่ออุตสาหกรรมอาหารไทย (ในยุคนั้นยังไม่มีปริญญาเอกในประเทศดังปัจจุบัน)

 คนที่เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมก็ได้สร้างการเปลี่ยนในการต่อ ยอดพัฒนาอุตสหากรรมอาหารไทย ทำให้อาหารไทย เป็นยอมรับในตลาดต่างประเทศ  ถ้าได้ยินว่าอาหารไทย  Product of Thailand ก็เป็นสินค้าอาหารที่ได้รับความเชื่อถือในตลาดต่างประเทศ ก็ต้องขอบคุณคนรุ่นนี้และรุ่นก่อนหน้านี้ที่ได้สร้างชื่อเสียงไว้ให้คนรุ่นหลัง

ยุคเริ่มขยายตัว 2531-2540

ยุค 2531-2540 ในช่วงต้นทศวรรษเกิดนิคมอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่าง ๆ จำนวนมาก สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้าน Food Science หรือ อุตสาหกรรมเกษตรอยู่แล้วเพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาในหลักสูตร Food Science มากขึ้น รองรับการขยายตัวของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและการส่งออก   

เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ขึ้นหลายแห่ง  ส่วนมหาวิทยาลัยทีเปิดอยู่แล้วก็มีการพัฒนา เปิดวิทยาเขตใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ด้วยการพัฒนาวงการคอมพิวเตอร์ ยุคเริ่มใ้ช้โปรแกรม Microsoft  Windows กันในยุคแรกๆ เกิดการพัฒนาหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์หรือสารสนเทศ จนเกิดการพัฒนาวิทยาเขตสารสนเทศเกิดขึ้น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้เปลี่ยนเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลใน ปี 2531 วิทยาลัยครู ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏ และตั้งสถาบันราชภัฏใหม่ขึ้นอีก 5 แห่ง เริ่มมีหลักสูตรปริญญาตรี Food Sciene มากขึ้น

นอกจากระดับ ปวช ปวส แล้ว สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มเปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มากขึ้น นอกจาก อนุปริญญาแล้วสถาบันราชภัฎเริ่มเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีทางด้าน Food Science มากขึ้น  การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยใหม่ การขยายตัวตั้งวิทยาเขตใหม่ของมหาวิทยาลัยเดิม แม้กระทั้งวิทยาเขตที่ชื่อว่าเป็นวิทยาเขตสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเดิม ต่างก็เปิดสาขา Food Science กันมากขึ้น และคนที่จบมาในยุคนี้ก็มีงานรองรับ แม้ในช่วงปลายทศวรรษที่ประเทศเริ่มปัญหาฟองสบู่แตก สาขา Food Science ก็เป็นสาขาหนึ่งที่ยังหางานทำได้

ยุคเพิ่มการขยายตัว 2541-2550

ยุค 2541-2550 ช่วงเริ่มต้นทศวรรษเป็นยุคฟองสบู่แตก ธุรกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน ได้รับผลกระทบรุนแรง บัณฑิตวิศวกรงานยากมาในช่วงต้นทศวรรษ ประเทศต้องกู้เงินจากกองทุนสำรองระหว่างประเทศ (IMF) แต่คนจบสาขา Food Science  ก็ยังสามารถหางานได้ พิษฟองสบู่แตก ค่าเงินบาทลอยตัวไปแตะ 50 บาท คนกู้เงินจากต่างประเทศมาหนี้เพิ่มขึ้นทันที 2 เท่า แต่อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารส่งออกกลับได้ผลกระทบในทางบวก มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากความได้เปรียบค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ทำให้อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากภาคการศึกษาที่จะผลิตบัณฑิต สาขา Food Science เข้าสู่อุตสาหกรรมนี้กันเป็นจำนวนมาก

ในยุคนี้เป็นยุคที่มหาวิทยาลัยต่างๆเริ่มเตรียมตัวออกนอกระบบ ซึ่งการบริหารมหาวิทยาลัยต้องพึ่งพารายได้ของมหาวิทยาลัยเองมากขึ้น การเพิ่มจำนวนนักศึกษาเป็นช่องทางหนึ่งในการหารายได้ของมหาวิทยาลัย  สถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตร ปวส. เริ่มปิดตัวลง หลักสูตร อ.สบ. ซึ่งเป็นหลักสูตรที่คนมีทักษะปฏิบัติมาต่อยอดเรียนปริญญาตรีเริ่มหายไป มหาวิทยาลัยหันมาพัฒนาเปิดหลักสูตร ปริญญาตรี 4 ปีมากขึ้น

สาขา Food Science  เป็นสาขาหนึ่งที่เห็นว่าจะเป็นทีนิยมของผู้เรียนและมีงานทำ ทำให้เป็นสาขาหนึ่งที่เปิดมากขึ้น บางสถาบันแม้จะมีสาขา Food Science อยู่แล้ว ก็ยังเปิดเพิ่มใหม่จากต่างภาควิชา จากต่างคณะ หรือต่างวิทยาเขต โดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เปิดความเฉพาะทางมากขึ้น เพื่อไม่ใช้ชื่อหลักสูตรซ้ำกับหลักสูตรเดิม พร้อมกับสร้างบัณฑิตให้มีความเฉพาะทางมากขึ้น ช่วงปลายทศวรรษนี้ก็เริ่มมีคนจบ Food Science เกินจำนวนความต้องการของการรองรับงานได้ เริ่มมีหลายคนไปทำงานนอกสายงานที่อาจไม่เกี่ยวกับ  Food Science มากขึ้น

ยุคกระตุ้นการขยายตัว 2551-2560 

ยุค 2551-2560ช่วงต้นทศวรรษมหาวิทยาลัยต่างทยอยออกนอกระบบ บัณฑิตจากหลักสูตรต่างๆ ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในทศวรรษก่อนหน้านี้ เริ่มจบออกมาสู่ตลาดแรงงาน ทำให้บัณฑิตที่จะไปทำงานในอุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนมาก ภาคอุตสหรรมมีตัวเลือกมาก หากใครไม่มีความสามารถพิเศษที่โดดเด่น ก็หางานที่มีเงินเดือนสูงๆ ยากมากขึ้น

เป็นยุคที่ผลการดำเนินงานต่างๆ ในช่วงทศวรรษก่อนหน้าเริ่มเห็นผลชัดเจนในทางปฏิบัติ  ผลการจัดการศึกษาไม่อาจให้ผลสำเร็จโดยรวมที่เห็นผลได้ทันที  แต่ระบบประกันคุณภาพที่เน้นการวัดและประเมินแยกเป็นกิจกรรมย่อยๆ แต่ละปีโดยละเลยประโยชน์ในองค์รวมที่ยั่งยืนในระยะยาว และละเลยวัฒนธรรมองค์กรและละเลยวัฒนธรรมท้องถิ่น การพยามหาธีการคิดคำนวณตัวเลขเพื่อให้ผลการประเมินได้คะแนนสูง แต่ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริง  ทำให้จุดข็งของหลายหลักสูตร ถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย 

     ผลจากอัตราเกิดของประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในสองทศวรรษก่อนหน้านี้ทำให้ หลักสูตรที่เพิ่งเปิดใหม่มีผู้เข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาทุกสาขาน้อยลง หากหลักสูตรใดไม่มีจุดเด่น จุดแข็งที่ชัดเจน ทำให้จำนวนนักเรียนที่เข้าเรียน  Food Sciene ตามแผนน้อยลงอย่างมาก และบางแห่งอาจลดลงต่ำกว่า 10 คนต่อหลักสูตร หลายแห่งแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนชื่อสาขาแต่หากเปลี่ยชื่อสาขาแล้วเนื้อหาและกิจกรรมการเรียการสอน​(ไม่ใช่ชื่อวิชา) และตัวอาจารย์เองไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร การเปลี่ยนชื่อสาขาก็เป็นได้แค่เพียงเหล้าเก่าในขวดใหม่ แต่ถ้าภาคการศึกษาเห็นปัญหาในภาคอุตสาหกรรมและยอมรับปัญหา ก็จะเห็นโอกาสในการ เอาปัญหาจากภาคอุตสาหกรรมไปสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองอุตสาหกรรม และทำงานร่วมกับอุตสหกรรมมากขึ้นก็จะอยู่รอดได้ แต่หากอาจารย์ในหลักสูตรหันหลังในภาคอุตสาหกรรม เพราะคิดว่าตัวเองไม่ถนัดไม่ชอบที่จะติดต่อทำงานกับภาคอุตสาหกรรม คิดว่าปัญหาภาคอุตสาหกรรมเป็นส่ิงที่บัณฑิตที่จบไปต้องไปประยุกต์ใช้เอง อาจารย์ในหลักสูตรก็จะสอนทฤษฎีตามที่อาจารย์เคยเรียนมา อย่างนี้จะทำให้บัณฑิตที่จบมาต้องเผชิญชะตากรรมที่ยากลำบาก และมันก็จะเป็นการสะท้อนไปยัง รุ่นน้องรุ่นหลังๆ ที่จะสมัครเข้าเรียน แต่หากหลักสูตรที่ได้รับการดูแลจากความร่วมมือของอาจารย์ และภาคอุตสาหรกรรมในการเตรียมความพร้อมของบัณฑิตในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี แม้มันอาจจะดูยาก ดูเหนื่อย ทั้งอาจารย์และนักศึกษาและผู้บริหารภาคอุตสาหกรรม แต่ก็ทำให้บัณฑิตที่จบมามีความเข้มแข็ง เข้าใจโลกของการทำงาน ปัญหาสิ่งเดียวกันที่อีกคนเจอและคิดว่าเป็นเรื่องเครียด กดกัน แต่อีกคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องท้าทายและโอกาสในการพัฒนา ซึ่งมันจะเกิดทัศคติแบบนี้ได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ผ่านมา การเรียนการสอนที่เน้น KPI/OKRs ในการสร้างชื่อเสียงและการทำให้มหาวิทยาลัยได้งบประมาณ เน้นการวัดผลระยะสั้นปี่ต่อปี แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ KPI/OKRs ในการพัฒนาคน พัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาทัศคติเชิงบวก กิจกรรมการพัฒนานักศึกษาเป็นกิจกรรมที่ถูกละเลย ลดความสำคัญลง ในการให้โอกาสในการฝึก คิดฝึกพัฒนา เกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมนักศึกษา กิจกรรมหลายอย่างที่นักศึกษาเคยใช้เป็นกระบวนการในการพัฒนาในอดีต เริ่มนิยมจ้าง Organizer ทำแทน เพราะเน้นผลลัพธิ์ ที่สวยงาม ไม่ได้เน้นกระบวนการพัฒานาทักษะนักศึกษานอกห้องเรียนเช่นในอดีต เป็นสถานการณ์ที่นักศึกษาถูกทอดทิ้งในการพัฒนาตัวเองด้านต่างๆ แต่นักศึกษาอาจไม่ได้รู้ตัว เพราะขณะที่เรียน ขณะที่เป็นนักศึกษา หลายๆคนก็คิดว่าเรียนให้จบก่อนการพัฒนาตัวเองต่างๆ เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ ค่อยไปทำหลังเรียนจบแล้วก็ได้ ก็เสียโอกาสในการพัฒนาตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว  การสร้างแรงบันดาลใจในพัฒนา สร้างการเปลี่ยนแปลงให้นักศึกษา มีความพร้อมทั้งความรู้ ความมคิด เป็นหน้าที่สำคัญของคนเป็นครูอาจารย์แต่ แต่การทำอย่างนั้น ไม่ได้อยู่ใน KPI ในการขึ้นเงินเดือนอาจารย์เท่าไร วัดประเมินผลยาก และแถมนักศึกษาที่ไม่เข้าใจก็อาจตำหนิอาจารย์ที่ดูเหมือนต้องให้คิดให้ทำอะไรที่ดูยุ่งยาก แทนที่จะบอกให้ทำตรงๆ ให้คะแนนจากการตอบข้อสอบถูกไปเลยจะง่ายกว่า นักศึกษาก็จะประเมินอาจารย์โดยวัดระดับความพึงพอใจของนักศึกษา อาจารย์จัดองค์ประกอบการเรียนายนการสอน ที่ให้นักศึกษาเกิดต้องคิดวิเคราะห์ ต้นค้นคว้าเองเยอะก็มีควาเสี่ยงที่ได้คะแนนประเมินอาจารย์ที่ต่ำกว่าอาจารย์ที่สอนการเรียนแบบอธิบายในห้องเรียนปกติและบอกแนวข้อสอบที่ชัดเขดเจนในการหาคำตอบเพื่อเตรียมตัวสอบ กิจกรรมกระบวนการพัฒนานักศึกษาเหล่านี้ก็ค่อยๆ หายไป เพราะเอาเข้าจริงอาจารย์เองก็มีภาระงานมากขึ้นมากกว่าแค่สอนมาก เพื่อตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย

      ในยุคนี้มีจำนวนผู้สำร็จการศึกษา Food Sciene เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงเป็นยุคที่บัณฑิตเองต้องมีการแข่งขันกันสูง บัณฑิตต้องพัฒนาตัวเองจากช่องทางอื่นๆ กันเองมากขึ้น เช่น การเรียนออนไลน์ในหัวข้อที่ตัวเองสนใจ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ตัวเองสนใจแม่ว่าหลักสูตรไม่ได้บังคับ คนที่มีความรู้ ความสามารถที่โด่นเด่น ก็จะได้โอกาสในการเข้าทำงานในองค์กรที่ดี  ทราบศึกษาความรู้ความสามารถ ศักยภาพของผู้สมัครก็ให้ได้เงินเดือนสูงได้ คน จบ Food Science เงินเดือนเริ่มต้นสูงว่า 20,000 บาท ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยและมี Food Science หลายคน ในปัจจุบันที่ได้แบบนี้  แต่แน่นอน เราต้องมีความสามารถและรู้จักนำเสนอตัวเองกับองค์กรที่เขาต้องการ    ซึ่งก็โอกาสจะมีให้กับคนที่พร้อมกว่าเสมอ 

ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ปี 2561-ปัจจุบัน

ตั้งแต่ปี 2561- ปัจจุบัน เป็นยุคที่เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามามีบบาทเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค มากขึ้น และเป็นยุคที่ผลการดำเนินงานในทศวรรษต่างๆ ที่ผ่านมาให้ผลที่ชัดเจนขึ้น การเปิดหลักสูตรจำนวนมากจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศทำให้ จำนวนคนที่เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนมาก แต่ด้วยความไม่มั่นแน่นอนเศรษฐกิจ ทำให้ SMEs ก็ไม่กล้ารับคนจบ Food Science เข้าทำงานในเงินเดือนสูงๆ ขอให้พอดีคนที่จบ Food Science หรือใกล้เคียงที่พอจะทำงานแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้ก็พอถ้าเป็นดังนี้เงินเดือนก็จะไม่มาก แต่ SMEs ก็เป็นอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ดูเหมือนว่าคนจบ Food Science เงินเดือนน้อย  มากไปกว่านั้นด้วยระบบการบริการที่เป็นครอบครัวของธุรกิจ SMEs หลายแห่งก็ทำให้ Food Science ไม่สามารถทำงานได้ระยะยาว  SMEs ที่จ้าง Food Science เข้าไปทำงานก็เห็นปัญหา ความไม่ต่อเนื่องของงาน  การจ้างที่ปรึกษาสักคนไว้โดยที่จะเลิกจ้สงตอนใหนก็ได้และจ้างคนที่ยอมรับเงินเดือนไม่สูงมากมาควบคุมการทำงานก็เป็นทางออกที่ลดความเสี่ยงของอุตสาหกรรม ทำให้ดูเหมือนว่าในอุตสาหกรม SMEs ไม่มีคนทำงาน แต่จริงๆ แล้วเขาก็มีคนในการช่วยเหลือให้คำแนะนำ ในการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานต่างๆ ได้

ในภาวะที่คนจบมาป็นจำนวนมาก การกิดขึ้นของหลักสูตรเฉพาะทางหลากหลายจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีงานรองรับตามสาขาที่จบเฉพาะทางจริงๆ สุดท้ายก็ไปลงเอยด้วยตำแหน่งงาน หัวหน้างานฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นสัดส่วนที่อุตสาหกรรมอาหารรับได้มากที่สุด ทำให้ Food Sciecne ทีจบหลักสูตรใหม่ๆ แม้จะเปลี่ยชื่อปรับหลักสูตรเฉพาะทางหลายๆ สาขา  แต่ก็ไปทำงานในฝ่ายผลิตโดยส่วนใหญ่ ในขณะที่ความรู้และทักษะในการบริหารการผลิตโรงงานอุตสหกรรมอาหารนั้น มีการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตด้านนี้น้อยมาก ในวัตถุประสงค์หลักสูตร ก็เขียนไว้ว่า สามารถไปปฏิบัติงานในฝ่ายผลิตได้ แต่บางหลักสุตรการจัดการเรียนการสอนหลายที่ไม่มีรายวิชา และกิจกรรมที่พัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการฝ่านผลิตได้เลย เมื่อเข้าไปทำงานด้านการผลิตในอุตสหกรรมอาหารจริง จึงเจอปัญหา ความกดดันมากมาย สุดท้ายก็ลาออก 

ทำไม Food Science ยังเป็นสาขาที่สำคัญ คิดไม่ผิดที่เรียน Food Science  และหากรุ่นน้อง ลูกหลานจะเรียน Food Sciene ก็ยังสนับสนุน

อธิบายถึงการลำดับการพัฒนการศึกษาด้าน Food Sceince ตามยุคสมัยต่างๆ เป็นการสะท้อนถึงปัญหา และบริบทางทางสังคมและเศรษฐกิจในแต่ละช่วงแต่ไม่ได้หมายความว่าสาขา Food Science ไม่สำคัญแล้ว ไม่ควรเรียน ไม่ใช่อย่างนั้น ในทางกลับกัน สาขา Food Science เป็นสาขาที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยมาก แต่สถาบันการศึกษาไม่ควรนำ Food Science ไปทำการตลาดกับจำนวนนักศึกษา หารายได้เข้าสถาบัน แต่หลังบ้านกลับขาดการพัฒนาต่างๆ ที่รองรับให้ชัดเจน สถาบันการศึกษาบางแห่งที่เขาเปิดหลักสูตรมานานมีความเข้มแข็งของรุ่นพี่รุ่นน้อง ก็ยังสามารถหางานทำได้ดี เงินเดือนดี โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อสาขาอะไรให้วุ่นวาย ที่จริงแล้วมันมีองค์กรประกอบหลายๆ อย่างต้องพิจารณา

ในยุคที่ปริญญาลดความสำคัญลงไป คนจ้างงานเน้นที่ความสามารถเฉพาะบุคคลที่ตรงกับภาระหน้าที่มากขึ้น ไม่มีหลักสูตรใดที่สามารถผลิตคนให้ตรงกับตำแหน่งงานที่จะไปทำให้ 100% และไม่มีตำแหน่งงานใดที่เหมาะสมตรงกับความต้องการ และความรู้ความสามารถของเราได้ 100%  ในยุคการหาความรู้ออนไลน์ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส คนที่มีใจรักในเรื่องใดก็สามารถเรียนได้ แต่การเรียน Food Science นั้นมันมีวิชาปฏิบัติการที่ได้เห็น ได้สัมผัสทำให้เกิดการเรียนรู้ทางจริงได้จริง เราถนัดเรื่องอื่น ๆ เรื่องใดๆ เป็นพิเศษ ก็สามารถต่อยอดพัฒนตัวเองได้

      ในยุคฟองสบู่แตกจากเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็มาทำอาหารขายในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ  นางฟ้าบนเครื่องบิน ก็มาทำอาหารขายในยุคโควิด  ความรู้ด้าน Food Science นั้นสามารถนำไปประโยชน์ได้ในหลายๆ มิติ หากเราไม่ถนัดทำงานโรงงานอุตสาหกรรม แล้วบอกว่าไม่ควรเรียน Food Science ถือว่าไม่ยุติธรรมสำหรับสาขาเพราะเป็นสาขาที่สร้างคุณค่าคุณุปการที่ป็นประโยชน์ให้กับเศรษฐรากฐานของประเทศไทยเป็นอย่างมาก  ปัญหาบางประเด็นเป็นเรื่องจำเป็นที่ภาคการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปทบทวนหาทางแก้ไข  ส่วนในตัวของผู้เรียนและบัณฑิตที่จบก็มีส่วนที่ต้องปรับตัวเช่นกัน ขอแค่ทุกฝ่ายยอมรับความจริง การแก้ไขในภาคส่วนต่างๆ ก็เริ่มต้นได้ อย่ามัวกังวล จนไม่กล้าพูดความจริง เพราะกลัวจะมีผลกระทบเชิงลบ ไม่มีเด็กเข้าเรียน แต่หากเราเข้าใจว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่สาขา แต่เป็นปัญหาจากการวางแผนการการบริหารจัดการ ทุกฝ่ายก็น่าช่วยกันจะหาทางแก้ไขได้ ไม่ควรจะไปโทษว่าเป็นความผิดพลาดของใคร เพราะการตัดสินใจดำเนินการอะไรก็จะอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลในสถานการณ์นั้นๆ แม่จะมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นภาพในอนาคต แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตถูกต้อง  100% ตอนนี้ต้องการเพียงความเข้าใจ และร่วมมือแก้ปัญหาและพัฒนากั

การเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิดทำให้คนงานในโรงงานอาหารหลายคนต้องกักตัว กำลังการผลิตของโรงงานลดลง สินค้าเนื้อสัตว์ใน Supermarket ลดไป หายไป ผู้บริโภคไม่สามารถหาซื้อเนื้อสัตว์แช่เย็นได้ นี่เป็นตัวอย่างที่กระทบชัดเจนต่อ Food Chain และผู้บริโภคในสังคม

การเรียนนั้นผู้เรียนได้ความรู้ แต่การเข้าทำงานนั้นบริษัท องค์กรต่างๆ เขาเลือกที่ความสามารถหรือสมรรถนะ ดังนั้นความรู้และใบปริญญาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้ทำงานที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถตรงกับตัวเองและได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ ที่สูงขึ้น แต่บัณฑิต Food Sciene / อุตสาหกรรมเกษตร ต้องมีทั้งความรู้ ทักษะด้านต่างๆที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน และทีสำคัญมีทัศคติเชิงบวกในการทำงานกับงานที่ทำ หากเราต้องการทำงานในโรงงานอุตสหกรรมก็ต้องพัฒนาสมรรถนะต่างๆ ให้พร้อม เช่น สมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ สมรรถนะในการสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับคนอื่น สมรรถนะในการนำเสนอ สมรรถนะในการในการปรับตัวเรียนรู้และแก้ไขปัญหาสอดรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ( Agility and Reselience )  

        หากเราทำงานในฝ่ายผลิต ควบคุมคุณภาพ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็มีโอกาสได้ใช้ความรู้โดยตรงมาก แต่แม้ว่าไม่ได้ทำงานใน 5 ฝ่ายงานข้างต้นก็ยังมีโอกาสได้ใช้ความรู้และสร้างคุณค่ากับงานได้ เช่น ไปทำงานเป็นหัวหน้างานคลังสินค้า ก็สามารถเข้าใจการเสื่อมเสียคุณภาพ และประเด็นความปลอดภัยอาหารได้มากหัวหน้างานทั่วไป  การเป็นพนักงานขายเครื่องจักรแปรูป/บรรจุอาหาร/เครื่องมือวิเคราะห์ก็มีความเข้าใจในการอธิบายให้กับลูกค้าได้มากว่าพนักงานขายทั่วไป การไปเป็นพนักงานฝ่ายพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหรือโลจิสติกส์อาหาร  การไปทำร้านอาหารก็มีความเข้าใจเรื่อการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพระหว่างการปรุงและการเก็บรักษา พัฒนาต่อยอดการบริการจัดส่งที่รักษาคุณภาพสินค้า พัฒนาเมนูอาหารใหม่ๆ สร้างคุณค่าความแตกต่างของธุรกิจได้ การเป็น youtuber  ก็สามารถสร้าง  Content  เกี่ยวอาหารซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวเข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น  เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่าง บางส่วน ที่มีมีโอกาสได้บูรณาการความรู้กับงานที่ไปทำได้หลายๆ มิติ 

หากราไม่ไปยึดติดกับตำแหน่งงานในอดีตมากจนเกินไป ก็จะมีโอกาสในการพัฒนา สร้างโอกาส ในอาชีพ และสร้างรายได้มากขึ้น ในยุคที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอล ก็เป็นโอกาสที่จะต่อยอดธุรกิจอาหารของคนจบ Food Science ได้มากขึ้น

   ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม Food Science ยังเป็นสาขาที่สำคัญ คิดไม่ผิดที่เรียน Food Science  และหากรุ่นน้อง ลูกหลานจะเรียน Food Sciene ก็ยังสนับสนุนให้เรียน Food Science 

หากคนในวงการอุตสาหกรรมอาหาร วงการศึกษา และคนจบ Food Science เข้ามาอ่านก็อยากให้กำลังใจทุกท่านที่ทำงานอยู่ในวงการนี้ เพราะทุกท่านคือฟันเฟืองขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของประเทศ

      สำหรับคนที่ตัดสินใจจะเข้าเรียน Food Science อ่านบทความนี้แล้วอย่างกังวลมากไป ขอให้เข้าใจว่าปัญหาว่าทุกอุตสาหกรรมก็มีปัญหาอุปสรรคทั้งสิ้นแต่บริบทก็แตกต่างกันไป การวิจารณ์ปัญหาของ Food Sciene เพื่อให้ฝ่ายเกี่ยวข้องได้ทบทวน และร่วมมือกันพัฒนานอุตสาหกรรมอาหารให้ความยั่งยืนในการอนาคต  หากสนใจจะเรียนสาขา Food Science จริงๆ ขอยืนยันว่าคิดไม่ผิดแน่นอนที่เรียน Food Sciene แต่การเลือกทำงาน เลือกอาชีพอะไรหลังเรียนจบ เราต้องวิเคราะห์ตัวเองเพื่อเลือกแนวทางการพัฒนาตัวเองให้พร้อมกับการทำงานในหน้าที่ ตำแหน่ง หรืออาชีพดังกล่าวในอนาคต 

 #ขอให้เป็นกำลังใจคนในวงการอาหารทุกๆคน

#เด็กฟู้ดสู้ๆ

https://www.facebook.com/foodprofessional
อบรม PCQI ตาม FSMA: FSPCA Preventive Controls for Human Food V.2.0 พ.ค. – มิ.ย. 68 (มี 4 รอบ)
รับจดทะเบียน U.S. FDA และที่ปรึกษาเพื่อส่งออกอาหารไปอเมริกา
Share this post

Subscribe to our newsletter

Keep up with the latest blog posts by staying updated. No spamming: we promise.
By clicking Sign Up you’re confirming that you agree with our Terms and Conditions.

Related posts