• Home
  • อ่านบทความ
  • รู้จักหลักสูตรเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร ม.สงขลา ฯ

[vc_row][vc_column][vc_video link=”https://youtu.be/fsGfUNEigwI” el_width=”90″ align=”center”][vc_column_text]

มารู้จักสาขาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร ม.สงขลานครินทร์ สาขาที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอาหาร 4.0 
 
บริบทการทำงานในอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่การคุมการทำงานของพนักงานเช่นสมัยก่อนๆ แต่ต้องเข้าใจเทคโนโลยีและเชื่อมโยงกับการสารสนเทศการสื่อสารในปัจจุบันได้มาก ไม่ว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificail Intelligent) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การประยุกต์เทคโนโลยี Inernet of Things เข้ามามีบทบาทสำคัญกับอุตสาหกรรมในปัจจุบันมากขึ้น สินค้าและบริการหลายอย่างได้ถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี AI ในปัจจุบันมากขึ้น การศึกษาเพียงในสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้ภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมอาจทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีและการบริหาร บัณฑิตอาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะพลวัตอุตสาหกรรมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าในอดีตมาก
 
อาศัยปรัชญาของสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาบูรณาการกับการทำงาน Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) หลักสูตรบัณฑิตพันธ์ใหม่นี้ ตอบรับอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และตัวแทนภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรบัณฑิตพันธ์ใหม่มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เรียนที่มหาวิทยาลัย 3 ปี และเรียนในสถานประกอบการอีก 1 ปี ได้ความรู้ทั้งเทคโนโลยี และการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร และที่สำคัญมีความพร้อมของคณาจารย์และบุคคลากรจากภาคอุตสาหกรรมอาหารที่เข้ามาร่วมจัดการศึกษา
 
การตั้งชื่อสาขาให้มีคำว่าการจัดการนั้นอาจทำได้ไม่ยาก และเป็นชื่อที่นิยมนำมาใช้เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ เเพราะชื่อว่าการจัดการนั้น อาจเป็นชื่อที่จูงใจผู้สนใจสมัครเข้าเรียนและผู้ปกครองที่สนับสนุนผู้ทีกำลังตัดสินใจสมัครเข้าเรียนได้มาก เพราะในความเป็นจริงผู้มีประสบการณ์ทำงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหลายคงทราบและตระหนักดีว่า องค์ความรู้ทางการจัดการนั้นเป็นเรื่องจำเป็นเพราะถือสะพานที่จะเชื่อมต่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำองค์ความรู้เชิงลึกอื่นๆ เข้าไปประยุกต์ใช่ได้จริงๆ การใช้ความรู้เชิงลึกอย่างขาดศิลปะการบริหารจัดการแล้วก็จำทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กรได้ง่าย การเปิดสาขาเทคโนโลยีอาหารที่มีการบูรณาการกับการบริหารจัดการ และการจัดการเชิงวิศวกรรมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีจุดเด่นที่ชัดเจนทั้งเรื่องความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและและมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และคุณวุฒิการศึกษาที่มีพื้นฐานทั้งเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร การจัดการอุตสาหกรรม และวิศวกรรมอุตสาหการ หากไปสืบค้นดูชื่อาจารย์ประจำหลักสูตร หรือรายชื่อาจารย์ที่มาสอนที่เว็บไวซด์ของสาขาิวชาจะทำให้ผู้ที่สนใจสมัครเข้าเรียน หรือภาคอุตสาหกรรมทีสนใจร่วมจัดการศึกษาเห็นภาพชัดเจนขึ้นถึงความพร้อม ของการจัดการศึกษาที่ร่วมกับอุตสาหกรรมจริงๆ อุตสาหกรรมทีสนใจร่วมจัดการศึกษาเห็นภาพชัดเจนขึ้นถึงความพร้อมของการจัดการศึกษาที่ร่วมกับอุตสาหกรรมจริงๆ

 

 

 

 

 

บัณฑิตพันธุ์ใหม่บัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมอาหารไทย

วท.บ. สาขาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร

เราอาจตอบได้ว่าบัณฑิตที่จบการศึกษาหลักสูตรการศึกษาที่เราพัฒนาขึ้นทำงานได้หลายอย่าง แต่จะตอบได้หรือไม่ว่าอาชีพอะไรที่ทำได้ดีมากๆ อะไรคือจุดแข็งของหลักสูตร เพราะหากตอบไม่ได้ นั่นอาจหมายความว่าบัณฑิตในหลักสูตรนั้นอาจทำได้ไม่ดีสักอย่าง

FOODPRO ACADEMY ขอแนะนำหลักสูตรที่น่าสนใจในการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร  วิศวกรรมระบบและการจัดการ ตามแนวทางการดำเนินงานสหกิจศึกษาและการบูรณาการการศึกษากับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education : CWIE) นักศึกษามีโอกาสเข้าไปทำงานจริงในภาคอุตสาหกรรมอาหารเป็น ระยะเวลา 9  -12 เดือน จากระยะเวลาศึกษารวม 4 ปี

หลายท่านอาจยังไม่คุ้นเคยคำว่า “บัณฑิตพันธุ์ใหม่”  จริงๆ แล้ว “บัณฑิตพันธ์ใหม่” เป็นชื่อเรียกตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ต้องการผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาบัณฑิตควบคุมคู่ไปกับการบูรณาการการศึกษากับการทำงาน ให้ภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบสหกิจศึกษาและการบูรณาการการศึกษากับการทำงานนั้น ต้องมีอาจารย์ผู้เสียสละในการดำเนินการอย่างมากที่ยอมออกจาก Comfort Zone ตัวเอง  แล้วช่วยกันผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้สำเร็จและสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาบัณฑิตตามหลักสูตร หากอาจารย์ในหลักสูตรขาดความตั้งใจความุ่งมั่นร่วมมือกันพัฒนา  แต่หากสถาบันการศึกษาไหนสามารถดำเนินการขับเคลื่อนได้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมและถือเป็นหลักสูตรที่สร้างความหวังให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารที่จะเป็นผู้ใช้บัณฑิตในอนาคต เพราะนี่เป็นแนวทางการพัฒนาบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยให้ภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อพูดถึงสหกิจศึกษา เราต้องระลึกถึงปูชนียบุคคลที่สำคัญของวงการศึกษาไทย คือ ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย ซึ่งท่านเป็นบิดาแห่งสหกิจศึกษาไทย ท่านเป็นผู้บุกเบิกนำสหกิจศึกษาเข้ามาในประเทศไทย เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และขยายผลไปยังสถาบันการศึกษาอื่นๆ ส่งผลการให้เกิดการขยายผลในการพัฒนาหลักสูตรที่ในรูปแบบที่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลาย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก็เป็นอีกสถาบันการศึกษาต้นแบบที่ได้สร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษาและวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่เห็นผลชัด จนหลายๆ สถาบันการศึกษาก็นำเอามาเป็นแนวทางในการพัฒนาบัณฑิตในปัจจุบัน

ปูชนียบุคคลอีกท่านในการพัฒนาสหกิจศึกษาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร คือ ท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์  ​ธรรมรัตน์วาสิก ที่ได้วางรากฐานการจัดการศึกษาของหลักสูตร การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร ให้เป็นแบบสหกิจศึกษา 100% โดยมอมหมายให้ ดร.กิตติ เจิดรังสี เข้ามารับผิดชอบการดำเนินการสหกิจศึกษาในยุคแรกๆ ปัจจุบันหลักสูตรนี้ได้กลายพันธุ์ เป็น บัณฑิตพันธุ์ใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว ในชื่อสาขาใหม่ว่า สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ของภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานคนครินทร์ เป็นสาขาวิชาที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีรายละเอียดของหลักสูตรที่น่าสนใจดังนี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร มีปรัชญาของหลักสูตร มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและการจัดการ  เพื่อปรับปรุง/พัฒนาและแก้ปัญหากระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมอาหาร ที่สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงอย่างเป็นระบบผ่านการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน และการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ

ลักษณะการจัดแผนการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา  ลงทะเบียนเรียน ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า  9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี) โดยมีการกำหนดรายวิชาลงไปในแต่ละภาคการศึกษาให้เป็นไปตามลำดับ สอดคล้อง ต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากการเรียนวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป  และ วิชาพื้นฐาน ในชั้นปีที่ 1  เรียนวิชาเฉพาะด้านและวิชาพื้นฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอาหาร ในชั้นปีที่ 2  เรียนวิชาชีพ ในชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยแบ่งวิชาชีพ ออกเป็น 3 สาขาหลักคือ การจัดการการผลิต  การจัดการคุณภาพ และการบริหารธุรกิจ ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 จะเน้นให้บูรณาการความรู้ภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน ณ สถานประกอบการ และในชั้นปีที่ 4  จะเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ โดยในภาคการศึกษาที่ 1 เน้นการบูรณาการในรายวิชาเรียน เช่น การบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร การบริหารผลิตภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 เน้นให้บูรณาการความรู้เพื่อการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา ดังแสดงแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับแต่ละชั้นปี ดังนี้

  ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาฤดูร้อน
 ชั้นปีที่  1  เรียนศึกษาทั่วไป + วิชาพื้นฐาน Pre-course Experience
 ชั้นปีที่  2 เรียนวิชาพื้นฐานวิชาชีพ Industrial Problem Based *Practicum (Optional)

อยู่ในสถานประกอบการ

 ชั้นปีที่  3

 

รียนวิชาชีพ *Practicum Post-Course Internship อยู่ในสถานประกอบการ
 ชั้นปีที่  4

 

เรียนวิชาชีพ *Cooperative Education

(Project Based) อยู่ในสถานประกอบการ

*(Optional)

อยู่ในสถานประกอบการ

 

การจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตให้มีสมรรรถะตามที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการ แน่นอนว่าเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่จะทำได้ดีมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน ในอีกมุมหนึ่งหากภาคอุตสาหกรรมเพียงตั้งหน้าตั้งตารอ 4 ปี เพื่อรับบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาเข้าไปทำงาน โดยยกภาระหน้าที่ทั้งหมดในการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาฝ่ายเดียว แล้วหากมาพบภายหลังว่าสมรรถนะ (Competencies) ของผลิตบัณฑิตที่ได้ไม่ตรงกับความต้องการ ก็ไปตำหนิสถาบันการศึกษา  ถ้าเป็นอย่างนี้ก็อาจไม่ยุติธรรมนัก  เพราะเมื่ออุตสาหกรรมต้องเอาบัณฑิตไปใช้ถึงประมาณ 40 ปี ภาคอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมก็ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาคนให้พร้อมกับการทำงาน  ประโยชน์ระยะสั้นที่เห็นผลชัดคือเกิดกับตัวบัณฑิตเองที่มีโอกาสได้พัฒนาทักษะความรู้มากกว่านักศึกษาที่อยู่เฉพาะในมหาวิทยาลัย แต่ในระยะยาวก็เป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรฐกิจของประเทศ  เพราะเมื่อบัณฑิตไปทำงานก็สามารถทำงานได้สอดคล้องกับความต้องการกับภาคอุตสาหกรรม เพราะ Competencies ต่างๆ ในตัวบัณฑิต ทางภาคอุตสาหกรรมได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามาตั้งแต่ต้น  อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าชื่นชมที่ภาคเอกชนของอุตสาหกรรมอาหารไทย ได้เห็นความสำคัญในการร่วมกันพัฒนาบัณฑิต โดยได้ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาและการบูรณาการการศึกษากับการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง มีการรับนักศึกษาจากหลายๆ สถาบันการศึกษา เข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเช่น เครือเบทาโกร เครือไทยยูเนี่ยน  เครือซีพีเอฟ เครือไทยเบฟ  โออีชิกรุ๊ป แบรนด์ซันโทรี ฟาร์มเฮ้าส์  ไทยฟู้ดกรุ๊ป และอีกหลายๆ  บริษัท  ที่ผ่านมาเครือข่ายสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษาอุตสาหกรรมเกษตร สมาคมสหกิจศึกษาไทยและภาคเอกชนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปของไทยได้ร่วมกันจัดกิจกรรมประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานโครงงานสหกิจศึกษาอุตสาหกรรมเกษตรระดับชาติชื่อ  the Consortium of Cooperative Education in Agro-Industry and Managemnt (COCEAM) โดยจัดครั้งแรกในปี 2015 ณ โรงแรมวิลล่าวิชาลัย จังหวัดปราจีนบุรี และครั้งที่ 2 โรงแรมภูเขางามรีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยมีผลงานโครงงานสหกิจศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  มหาวิทยาลัยสยาม สถาบันเทคโนโลยีการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ร่วมนำเสนอในงานดังกล่าวรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้บริหารจากสถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนในการร่วมกันจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรสหกิจศึกษาและการบูณราการการศึกษากับการทำงาน นอกจากนี้ยังมีเวทีการประกวดผลงานสหกิจศึกษาดีเด่นระดับเครือข่ายและระดับชาติ ที่ผ่านมานักศึกษาหลักสูตร การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร (หลักสูตรเดิมก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร) ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและมีผลงานมีความโดดเด่นได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้รับรางวัล โครงงานสหกิจด่เด่นระดับชาติ เข้ารับรางวัลจากฯพณฯท่าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี วันวันสหกิจศึกษาไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2561

การเข้ารับรางวัลผลงานโครงงานสหกิจศึกษาดีเด่นด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการจัดการ ในงานวันสหกิจศึกษาไทย ปี 2561

 

 

การเข้าประกวดแข่งขัน การประชุมวิชาการสหกิจศึกษาระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานโครงงานสหกิจศึกษาทางอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ ปี 2015 และ ปี 2017 (the Consortium of Cooperative Education in Agro-Industry and Management 2015 & 2017)

ผู้สนใจเข้าศึกษาสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์สาขา  http://webagro.psu.ac.th/th4/index.php?option=com_content&view=article&id=121&Itemid=589

หากท่านอยู่ในภาคอุตสหากรรม ท่านสนใจและมีความพร้อมร่วมจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาและบูรณาการการศึกษากับการทำงาน รับนักศึกษาเข้าไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในอุตสาหกรรมหรือสนใจร่วมกันค้นหาโจทย์วิจัยเพื่อพัฒนาแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมสามารถติดต่อที่สถาบันศึกษาจัดการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรมเกษตรหรืออุตสาหกรรมอาหารที่มีหลักสูตรสหกิจศึกษโดยสามารถติดต่อที่ภาควิชา ฯ ของสถาบันการศึกษานั้นได้โดยตรง หรือ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทางอีเมลล์ coop@agro-industry.org     โดยทางคณะทำงานฯ​ จะได้ประสานต่อไปยังหน่วยงาน สถาบันที่จัดการให้ต่อไป ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจาก การสนันสนุนการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาและบูรณาการการศึกษากับการทำงานสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

สถาบันการศึกษาที่ต้องการแนะนำหลักสูตรสหกิจศึกษาหรือต้องการคำแนะนำ ปรึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสหกิจศึกษาทางด้านอุตสหากรรมเกษตรและอาหาร ติดต่อได้ทาง E-mail:  coop@agro-industry.org

ต้องการแนะนำหลักสูตรด้านอุตสาหกรรมอาหาร

โปรดติดต่อ info@foodpro.academy, info@foodpro.co.th

LINE ID: @foodpro

[/vc_column_text][/vc_column][vc_column][/vc_column][/vc_row]

Share this post

Subscribe to our newsletter

Keep up with the latest blog posts by staying updated. No spamming: we promise.
By clicking Sign Up you’re confirming that you agree with our Terms and Conditions.

Related posts