• Home
  • Business
  • ตำแหน่ง Food Operations Analyst ต้องเรียนจบอะไรมา ทำไมเงินเดือนสูงจัง

ทำงานตำแหน่ง Food Operation Analyst ต้องเรียนจบอะไรมามีบริษัทที่ไหนรับบ้าง

ตำแหน่งงาน Operation Analyst  หรือ นักวิเคราะห์การปฏิบัติการ ชื่อนี้ในประเทศไทย อาจไม่คุ้นเคยนัก แต่หากเรา ลอง Search หาชื่อตำแหน่งนี้ในต่างประเทศ ก็จะเห็นว่ามีอยู่ทั่วไป และในประเทศไทยองค์กรทางโลจิสติกส์ สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทก็จะมีตำแหน่งนี้ งานในคำแหน่งนี้จะเกี่ยวข้องกับ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การทบทวนการปฏิบัติงาน การออกแบบการปฏิบัติงาน การปรับปรูงการปฎิบัติงาน จะเป็นการปฏิบัติงานเรื่องอะไรก็ต้องไปดู Work Flow ของงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับธุรกิจของบริษัทนั้นๆ  ถ้าเป็นธุรกิจโลจิสติกส์อาหารก็จะเป็น Service Operations ในการขนส่ง การขนถ่าย การจัดเก็บอาหาร แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตอาหารนั้นกิจกรรมการปฏิบัติการ (Operations) หลักจะเป็นการผลิต  (Production) ดังนั้นอาจใช้คำว่า Production Analyst แทน 

มาตรฐานทักษะระดับชาติที่จัดทำโดยรัฐบาลสิงค์โปร์ ของตำแหน่งนี้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารก็อาจได้จากกลุ่ม Manufacturing and Operations ซึ่งตำแหน่งงานที่จะสามารถทำได้ก็มีตั้งแต่หัวหน้างานฝ่ายผลิตหรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตขึ้นไป โดยมีตัวอย่างราบละเอียดของระดับความสามารถ (Competencies) ด้าน Production Performance Management ระดับ 3 ระดับ 4 และระดับ 5 ดังตารางที่ 1  ตัวอย่างบทบาทและหน้าที่ของหัวหน้างานฝ่ายผลิตหรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต ในตารางที่ 2 ตัวอย่างภาระงานหลักต่างๆ ในตารางที่ 3  และทักษะและสมรรถนะที่ต้องการสำหรับตำแหน่ง หัวหน้างานฝ่ายผลิตหรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต ในตารางที่ 4

ตารางที่ 1  สมรรถนะด้านการจัดการสมรรถนะการผลิตระดับที่ 4, 5 และ 6 

  ที่มา: มาตรฐานทักษะแรงงานแห่งชาติ รัฐบาลสิงคโปร์

Level 3Level 4Level 5
FMF-OPR-3009-1.1FMF-OPR-4009-1.1FMF-OPR-5009-1.1
Analyse production resources and manage resource planning to meet production performanceReview production performance by identifying production constraints and allocate resources to overcome themFormulate strategies for manufacturing efficiency improvement by analysing the manufacturing metrics
ïProduction metrics ïManufacturing work flow ïProduction terminologiesïProduction monitoring tools ïManufacturing process flow ïProblem solving techniquesïManufacturing metrics ïProblem solving techniques
ïInterpret production terminologies  ïAnalyse production resources required to meet production performance ïDetermine production resources to meet production performance ïVerify production performance against production resource plan  ïDetermine follow-up actionïRelate production plan to production line operations  ïExecute production plan  ïIdentify production constraints in accordance with production plan ïAllocate resources to overcome constraints  ïReview production performance  ïDetermine follow-up actionsïAnalyse manufacturing efficiency  ïSelect appropriate project that will improve manufacturing efficiency ïDefine project scope of work and the number of hours as defined by the supervisor, based on business requirements ïExecute improvement project in accordance to the plan ïEvaluate project effectiveness in accordance with project objectives ïRecommend follow up actions

ตารางที่ 2 ตัวอย่างบทบาทและหน้าที่ของหัวหน้างานฝ่ายผลิต/เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต

ที่มา: มาตรฐานทักษะแรงงานแห่งชาติ รัฐบาลสิงคโปร์

Job RoleSupervisor/Production Planner
Job Role DescriptionThe Supervisor/Production Planner supervises the daily operations of the food production function to ensure that production targets are met and food products meet required production standards. He/She is responsible for smooth production operations within the plant, and ensures adequate inventories of raw materials, manpower and other resources required. He oversees and makes regular reports on production outputs, yields, equipment issues and downtime, and staff overtime, to update the management on production performance issues.  
He operates in a food production environment and may be required to work day or night shifts. He should be comfortable with working in accordance to a schedule, operating machinery, as well as exposure to physically demanding work conditions such as long standing hours, hot or cold temperatures.

ตารางที่ 3. ภาระงานหลักของหัวหน้างานผลิตหรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต

  ที่มา: มาตรฐานทักษะแรงงานแห่งชาติ รัฐบาลสิงคโปร์ 

Critical Work Functions and Key TasksCritical Work FunctionsKey TasksPerformance Expectations (For legislated / regulated occupations)

Manage process workflowSupervise production staff on preparation of ingredients, production, machinery operation and packaging of the food products
In accordance with: ïISO 22000:2005 – Food safety management systems ïSingapore Standard (SS) 590:2013 ïSS 444:2010 ïFood Safety System Certification (FSSC) 22000 ïGood laboratory practices (GLP) ïGood manufacturing practices (GMP)




















Coordination provision of training to production staff


Plan production outputs and set daily production schedules and buffer stock levels


Coordinate with maintenance teams and assist in troubleshooting equipment downtimes and site restorations


Evaluate low yield and quality assurance fail lots to highlight issues that affect output and operations


Review and suggest modifications to standard operating procedures (SOPs), checklists, and work instructions


Maintain inventory levels of raw materials, ingredients and buffer stock for meeting orders to facilitate smooth production operations


Prepare regular production performance reports

Operationalise new and customised product manufacturingAssist in implementing new and/or modified production processes to manufacture new food products

Disseminate new operating parameters to production teams for implementation

Infer impact on yield and reliability of new and/or modified production processes

Maintain hygiene, safety and standardsEnsure quality and hygiene of products and production areas, and workplace safety of employees


Work with staff in continuous improvement efforts, troubleshooting and resolution of technical issues with processes and equipment


Assist in production documentation establishment and maintenance


Coordinate with teams to resolve inter-discipline issues and control overall quality of work


Enforce good safety culture and manufacturing practices


Ensure adherence to processes and procedures

Contribute to continuous improvementIdentify opportunities for continuous improvement projects relating to manufacturing processes

Assist in implementation of improvement projects

ตารางที่ 4  ทักษและความสามารถในด้านต่างของหัวหน้างานผลิตหรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต

ที่มา: มาตรฐานทักษะแรงงานแห่งชาติ รัฐบาลสิงคโปร์ 

Skills & CompetenciesTechnical Skills and Competencies

Active and Smart PackagingLevel 3

Advanced Processing TechnologyLevel 3

Automated Operation MonitoringLevel 2

Automation Process ControlLevel 4

BudgetingLevel 3

Change ManagementLevel 3

Conflict ResolutionLevel 4

Continuous Process ImprovementLevel 3

Data SynthesisLevel 3

Document ControlLevel 3

Emergency Response ManagementLevel 3

Equipment MaintenanceLevel 2

Food Production ManagementLevel 3

Food Safety ManagementLevel 2

Good Manufacturing Practices ImplementationLevel 3

Green Manufacturing Design and ImplementationLevel 3

Hazards and Risk Control, and Policy ManagementLevel 3

Innovation ManagementLevel 3

Internet of Things ManagementLevel 3

Manufacturing Process ManagementLevel 3

New Product Introduction for FoodLevel 3

Production Performance ManagementLevel 4

Project ManagementLevel 4

Quality System ManagementLevel 3

Stakeholder ManagementLevel 3

Strategy DevelopmentLevel 4

Systems ThinkingLevel 3

Technical PresentationLevel 4

Technical Report WritingLevel 2

WSH Performance ManagementLevel 3

จากตัวอย่างข้อมูลในตารางที่ 1 ถึงตารางที่ 4 เป็นข้อมูลจากมาตรฐานแรงงานในอุตสาหกรรมผลิตอาหารในตำแหน่งงาน Production Supervisor หรือ Production Planner  ในส่วนของประเทศไทยเองโดยสาถบันคุณวุฒิวิชาชีพก็มีมาตรฐานแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเช่นกัน เช่น อุตสาหกรรมสัตว์น้ำของการผลิตอาหารในภาชนะปิดสนิท ในฝ่ายลิต ระดับ 3 ระดับ 4 และ ระดับ 5 ก็ ก็มีความรับผิดชอบหลักด้านการ ควบคุม การวางแผน และการปรับปรุงงาน เช่นกัน

โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่รับสมัครคนเข้าไปทำงานมักไม่ได้มีภาระหน้าที่ด้านการวิเคราะห์ และการปรับปรุงงาน คงมีหน้าที่หลักๆ คือ ควบคุมงานผลิตให้ได้ตามแผนเท่านั้น ซึ่งที่เป็นเช่นนี้ก็อาจมาจากงานของบริษัทเองไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก บริษัทไม่มีนโยบายให้หัวหน้างานผลิตต้องวิเคราะห์ปรับปรุง พัฒนา อะไรมาก  หรือสาเหตุมาจากตัวพนักงานเองที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะการในส่วนของการควบคุมการผลิต  เป็นหลัก มีเข้าใจการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของการผลิตอาหาร  ได่ดี แต่ขาดทักษะในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การปรับปรุงงานและการแก้ไขปัญหา ซึ่งหลายๆ บริษัทเขาก็มีหน้าที่วิเคราะห์ปรับปรุงานให้กับหัวหน้างานฝ่ายผลิตนั้น จริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้มอบหมายให้หัวหน้างานผลิตใหม่ต้องไปปรับปรุงเลยในทันที แต่กำหนดให้มีการวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการปรับปรุงโดยเสนอมทางเลือกและวิเคราะห์ประโยชน์และผลกระทบที่จะได้รับหลังจากการปรับปรุงในทางเลือกต่างๆ เสนอให้กับผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจ ทั้งนี้หากหัวหน้างานฝ่ายผลิตที่รับเข้าไปไม่สามารถทำงานตรงส่วนนี้ได้ ทางบริษัทจึงไม่สามารถมอบหมายภาระหน้าที่ส่วนนี้ให้ แต่ไปมอบหมายให้ Operations Analyst แทน ซึ่ง Operations Analyst ในธุรกิจอาหารนั้นอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามที่แต่ละองค์กรเช่น เครือเบทาโกร ใช้ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่เพิ่มผลผลิต และหลายๆ บริษัทใช้ชื่อ เจ้าหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เจ้าหน้าที่พัฒนาความเลิศการปฏิบัติการ (Operations Excellence)  ในธุรกิจโลจิสติกส์อาจใช้คำว่า Solution Design  และชื่อที่เป็นกลางๆ ทั่วไปก็คือ Operations Analyst  ในบางองค์กรอาจมีแผนก Operation Excellence  มี Operations Analyst เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ วางแผน และปรับปรุงงานในทุกๆ แผนก 

การออกแบบการปรับปรุงงานในอุตสาหกรรอาหารที่ไม่ได้เอาประเด็นเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาหารมาพิจารณตั้งแต่แรก เมื่อวิเคราะห์ ออกแบบเสร็จแล้ว นำไปนำเสนอให้ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆเตรียมนำไปปฏิบัติโดยรียกแผนกต่างๆ ทั้งผลิต ประกันคุณภาพ คลังสินค้า เข้าร่วมรับฟังเพื่อเตรียมนำไปใช้  พบว่าหลายครั้งไม่สามารถนำไปใช้ได้ อุปสรรคสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพในการแปรรูป ขนถ่าย จัดเก็บอาหาร ขนส่ง คือ เกิดผลกระทบด้านความปลอดภัยอาหาร ทำให้การออกแบบปรับปรุงงานหลายโครงการไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลได้ในทางปฏิบัติ  การรับพนักงานที่มีความรู้ทั้ง Food Processing, Food Safety,  and Operations Excellene ทำให้มีโอกาสให้บูรณาการคามรู้และทักษะทั้งทางการด้าน Food Processing, Food Safety,  and Operations Excellene ตั้งแต่เริ่มรวบรวมช้่อมูล วิเคราะห์ ออกแบบงาน จะทำให้บริษัทมีโอกาสในการพัฒนาปรับปรุงงานที่สามารถนำไปปฏิบัตได้จริงมากขึ้น มีโอกาสลดต้นทุน และสร้างโอกาสทางการตลาดได้มาก หากรับคนจบใหม่ด้วยเงินเดือนเริ่มต้น 20,000-30,000 บาท เข้าไปทำงานแล้วทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนหรือเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้ 3-5 ล้านบาทต่อปี จึงไม่ใช่เรื่องยากที่บริษัทจะพิจารณาเข้าทำงานด้วยเงินเดือนสูงๆ ได้ ถ้าพนักงานมีความสามารถทำได้จริง  

การเข้าสู่ตำแหน่ง Food Operations Analyst ของคนจบฟู้ดยังมีน้อยเพราะส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติของผู้บริหารในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารบางองค์กรอาจไม่เข้าใจว่าคนจบฟู้ดทำอะไรได้บ้าง ซึ่งหลายองค์กรยังเข้าใจผิดคิดว่าคนจบฟู้ดนั้นทำงานได้พียง หัวหน้างานควบคุมการผลิต เจ้าหน้าที่คิวซี เจ้าหน้าที่คิวเอ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เท่านั้น ขณะเดียวกันทัศคติคนจบฟู้ดเองในการพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถในการทำอะไรใหม่ๆ  บางตำแหน่งยังไม่มีหลักสูตรใดออกแบบมาเฉพาะแต่จำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาตัวเองจากฐานความรู้เดิมเพิ่มเติมจนมีความสามารถแตกต่างจากคนจบฟู้ดโดยทั่วไปได้ บริษัทไม่ได้จ้างคนจากวุฒิการศึกษาเพียงอย่างเดียว การพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถว่าเราทำอะไรได้บ้างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะได้รับโอกาสทำงานที่ได้เงินเดือนสูงๆ  ตำแหน่ง Food Operations Analyหt อาจเป็นคนที่เรียนจบมาทางด้าน Food Science & Tecnology / Food Engineering แล้วมีการทักษะในการวิเคราะห์ ปรับปรุง และแก้ปัญหา สามารถเข้าทำงานได้  บางคนอาจศึกษาต่อปริญญาโททางด้านการจัดการ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ  วิศวกรรมการตัดสินใจ และมีการพัฒนาทักษะตัวเองในการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนางานได้  ก็จะทำให้มีโอกาสได้ทำงานด้านนี้ได้ง่ายขึ้น การศึกษาต่อปริญญาโททำให้มึความได้เปรียบแต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป  บางคนก็สนใจเรียนรู้พัฒนาตัวเองจากคอร์สอบรมต่างๆ เช่น คอร์สอบนมจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รวมทั้งคอร์สออนไลน์ต่างๆ มากมาย และหากใครมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษก็สามารถศึกษาพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์และปรับปรุงงานจากมหาวิทยาลัยดังๆ ทั่วโลกได้จากแพลทฟอร์มอย่าง EDX หรือ Coursera ก็ได้   นอกจากนี้บางคนที่สนใจทำงาน Food Operation Analyst อาจโชคดีได้เรียนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่มีการสอนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวางแผนและศาสตร์ในการตัดสินใจต่างๆในหลักสูตรในระดับปริญญาตรีด้วย  

หากฟังชื่อตำแหน่งและทักษะที่ต้องใช้แล้วอาจทำให้คิดว่าจะไปจะคล้ายกับวิศวกรอุตสาหการมาก จะแย่งงานก็หรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หากโครงสร้างองค์กรมีแผนกเกี่ยวกับ Food Operations Excellence/ พัฒนาประสิทธิภาพ/ เพิ่มผลผลิต คนจบฟู้ดที่มีความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์ แล้วมีการจ้างวิศวกรอุตสาหการทำงาน คนจบฟู่ดที่มีความรู้และทักษะ Operation Analyst ก็จะสามารถทำงานร่วมกับวิศวกรอุตสาหการได้ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ไม่ได้มีแผนกเหล่านี้โดยตรง หรือบางแห่งก็ไม่มีวิศวกรสักตำแหน่งเดียวอาจมีแต่ช่างที่คอยซ่อมเครื่องจักรและซ่อมบำรุงทั่วไปเท่านั้น กรณีหัวหน้างานที่จบฟู้ดทำงานในฝ่ายผลิต คลังสินค้า หรือการตลาด หากมีทักษะเป็น Operations Analyst ด้วยก็จะทำให้มีโอกาสได้เงินเดือนสูงกว่าหัวหน้างานทั่วไป นอกจากนี้บางองค์กรเขาก็รับสมัครตำแหน่งวิศวกรอุตสาหการ แต่วิศวกรอุตสหการไม่ค่อยสนใจทำงานในอุตสาหกรรมอาหารมากนัก และมีบางส่วนที่เข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมอาหารแล้วก็อยู่ได้ไม่นานลาออกไปทำงานในอุตสาหหกรรมรถยนต์ อิเล้กทรอนิกส์ ที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า นอกจากนี้การวิเคราะห์ การปรับปรุงกระบวนการที่มีผลกระทบทางด้านชีวภาพ เคมี และชีวเคมี ที่ยังจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านฟู้ดประกอบการวิเคราะห์ องค์ความรู้ด้านฟู้ดจึงจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ควบคู่ไปกับทักษะทางด้าน Operations Research และ Data Analytics

งานอะไรก็ประสบความสำเร็จได้ถ้าเรามีความมุ่งมั่นและมีความสุขกับงานทีทำ งานของคนจบฟู้ดนั้นมีหลายแนว คงต้องเลือกตามความถนัดและความสามารถของตัวเอง งาน Food Operation Analyst  นั้นแม้ว่าจะเป็นงานที่มีมีค่าตอบแทนสูง แต่ถ้าเราไม่ชอบงานแนวการวิเคราะห์ ออกแบบ ปรับปรุง เปลี่ยนแลง ก็ไม่ควรเลือกงานด้านนี้ แต่ถ้าใครชอบคิด ชอบสงสัย ชอบวิเคราะห์ ชอบพัฒนา ชอบค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาอะไรใหม่ๆ อยูเสมอ  มีทักษะในการวิเคราะห์ที่ดี ชอบศึกษาเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล ศึกษาเอาเครืองมือจาก Google,  Mircorsoft  เช่น  Power BI หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ มาใช้ให้เกิเประโยชน์กับงาน มีทักษะในการสื่อสารและนำเเสนอที่ดี ตำแหน่ง Food Operation Analyst ก็เป็นอีกตำแหน่งทีเหมาะสม และรอความท้าทายจากคนรุ่นใหม่ 

การเรียนและฝึกคิดวิเคราะห์นั้นบางคนอาจดูว่ายาก แต่คนที่รักและสนใจงานลักษณะนี้จะมองว่าสนุก ท้าท้าย ไม่น่าเบื่อ คนที่จบไปแล้วประสบประสบความสำเร็จ ได้ทำงาน มีความสุขกับงาน ได้ใช้ความรู้ และได้ต่าตอบแทนสูงได้นั้น ส่วนสำคัญก็เพราะผู้เรียนรักและสนใจงานลักษณะดังกล่าวจริงๆการพัฒนาบุคลกรเพื่อทำงานในตำแหน่งเกี่ยวกับ Food Operations Analyst นั้นจำเป็นต้องมีการฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการปัญหา โดยต้องมีการจัดองค์ประกอบให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดฝึกแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่การสอนแบบรรยายและสอบวัดผลความรู้แบบปกติ ทีมที่ปรึกษาและวิทยากร FOODPRO ACADEMY ได้ร่วมพัฒนาบุคลากรให้เป็น Food Operations Analyst โดยรับสมัครผู้จบการศึกษาทางด้าน Food Science & Technology, Food Procecss Engineering หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 6 เดือน เข้าอบรมระยะสั้นในวันอาทิตย์ เวลา 13:00-16:00 น.เป็นการอบรมแบบ Blended Course คือมีทั้งการบรรยายออนไลน์ และ WorkShop ภาคสนาม การอบรมรอบต่อไปเริ่มเรียนพฤศจิกายน 2564 หากใครสนใจสมัครทดลองอบรเชิงปฏิบัติการแบบออนไลน์ฟรี 2 ครั้ง อบรมเพื่อทำงาน Food Operations Analyst สามารถส่งอีเมล์แจ้งความประสงค์พร้อม CV หรือเอกสารอืนๆ ประกอบ ได้ที่ office@jobfoods.com

นอกจากนี้ทีมงาน FODOPRO ACADEMY ยังจัด Matching ในการจัดทำโครงการปรับปรุงงานของสถานประกอบการผ่านโครงงานสหกิจศึกษาบูรการกับการทำงานกับสถาบันการศึกษาและเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำโครงงานสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงานในสถานประกอบการ หากสถานประกอบการด้านธุรกิจอาหารต้องการนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือนักศึกษาปริญญาโทเข้าไปวิเคราะห์ และปรับปรุงงานผ่านโครงการสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงานอย่างน้อย 4 เดือนโดยมีแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้

  1. สถานประกอบการต้องแจ้งกรอบปัญหาที่จะวิเคราะห์และปรังปรุงงาน ทั้งนี้คณะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจาก FOODPRO ACADEMY จะช่วยเหลือ วิเคราะห์กรอบปัญหาในทำโครงงานการวิเคราห์และปรับปรุงงานให้กับสถานประกอบการได้
  2. กรอบปัญหาที่จะจัดทำโครงงานวิเคราะห์และปรับปรุงงานจะส่งไปให้นักศึกษา และสถาบันการศึกษาที่มีโครงการสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้นักศีกษาที่สนใจสมัครเข้าทำงาน สถานประกอบการสามารถคัดเลือกคัดกรองนักศึกษาได้กรณีมีนักศึกษาสนใจสมัครมากกว่าจำนวนตำแหน่งที่เปิดรับ คณะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจาก FOODPRO ACADEMY จะร่วมพิจารณาคัดเลือก และ/หรือร่วมสัมภาษณ์คัดเลือกได้
  3. เมื่อสามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน ในการทำโครงงานวิเคราะห์และปรับปรุงงานของสถานประกอบการได้แล้ว สถานประกอบการแจ้งให้กับสถาบันการศึกษาทราบและสถาบันการศึกษาจะทำหนังสื่อส่งตัวนักศึกษาเข้าทำงานในสถานประกอบการตามช่วงวันเวลาที่กำหนด
  4. สถานประกอบการต้องจัดพี่เลี้ยง (Job Mentor) ที่มีความรู้ ความสามารถ ในการดูแลนักศึกษาตลอดระยะเวลาจัดทำโครงงานสหกิจศึกษาบูรณการกับการทำงาน อย่างน้อย 4 เดือน
  5. สถานประกอบการมีจัดเบี้ยงเลี้ยงให้นักศึกษาระหว่างปฏิบัติงาน วิเคราะห์และปรับปรุงงานผ่านโครงงานสหกิจศึกษาบูรณการกับการทำงาน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาโครงการสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน รวมทั้งเบียเลี้ยงที่ให้กับนักศึกษาาสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงานสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
  6. การวิเคราะห์ และปรับปรุงงานทีมงานที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจาก FOODPRO ACADEMY จะคอยให้คำปรึกษา จนเสร็จสิ้นโครงการ

สถานประกอบการที่ต้องรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน หรือนักศึกษาปริญญาโท ไปทำโครงการวิเคราะห์และปรับปรุงาน สามารถส่งอีเมล์แจ้งความประสงค์ พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ ไปยังอีเมล์ office@jobfoods.com

การเรียนและฝึกคิดวิเคราะห์นั้นบางคนอาจดูว่ายาก แต่คนที่รักและสนใจงานลักษณะนี้จะมองว่าสนุก ท้าท้าย ไม่น่าเบื่อ คนที่จบไปแล้วประสบประสบความสำเร็จ ได้ทำงาน ได้ใช้ความรู้ และได้ต่าตอบแทนสูงได้นั้น ส่วนสำคัญก็เพราะผู้เรียนรักและสนใจงานลักษณะดังกล่าวจริงๆ

อบรม PCQI ตาม FSMA: FSPCA Preventive Controls for Human Food V.2.0 พ.ค. – มิ.ย. 68 (มี 4 รอบ)
รับจดทะเบียน U.S. FDA และที่ปรึกษาเพื่อส่งออกอาหารไปอเมริกา
อบรม Foreign Supplier Verification Programs (FSVP)28-29 มิถุนายน 68
Share this post

Subscribe to our newsletter

Keep up with the latest blog posts by staying updated. No spamming: we promise.
By clicking Sign Up you’re confirming that you agree with our Terms and Conditions.

Related posts