• Home
  • PCQI
  • แค่ HACCP ไม่พอเสียแล้ว เมื่อ Preventive Controls for Human Food ตามกฎหมายความปลอดภัยอาหาร FSMA เข้ามาแทน

[vc_row][vc_column][vc_video link=”https://youtu.be/M8Lu2fnNiOo” el_width=”50″ el_aspect=”43″ align=”center”][vc_video link=”https://youtu.be/XddEkzumTyk” el_width=”50″ el_aspect=”43″ align=”center”][vc_separator][vc_video link=”https://youtu.be/K3JQfq6bo3A” el_width=”50″ el_aspect=”43″ align=”center”][vc_column_text]

กฎหมาย FSMA เป็นการพลิกโฉมโครงสร้างการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอาหารครั้งสำคัญในรอบ 70 ปี ของสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียวจากการปรับปรุงกฎหมาย Food Safety Modernization Act : FSMA  อันนำไปสู่การการปรับตัวครั้งใหญ่ของผู้ประกอบการในสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารจากต่างประเทศที่ส่งสินค้าอาหารไปจำหน่ายยังสหรัฐอเมริกา  แน่นอนว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตส่งออกอาหารไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวกับกฏหมายฉบับนี้เช่นกัน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหารต้องทำความเข้าใจกฎระเบียบตามกฎหมายใหม่นี้โดยเฉพาะระเบียบ Preventive Controls for Human Food ซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารไทยโดยตรงมากที่สุดในขณะนี้ รวมทั้งในสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร การจัดการความปลอดภัยทางอาหาร และสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร ต้องปรับปรุงเนื้อหาการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยทางอาหารให้ทันสมัยด้วยเช่นกัน เพราะมีระเบียบด้านการจัดการความปลออดภัยอาหารใหม่ๆ ที่ประกาศออกมา ประกอบกับบริบทการผลิตสินค้าในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากอดีตไปมาก เช่น เจ้าของ ฺBrand สินค้าอาจมีการจ้างผลิตสินค้าจาก Out Source Manufacturers หลายราย การบรรจุ รวมหน่วยสินค้า ติดฉลากสินค้า อาจมีการรับบริการ Co-packing Service จาก Third Party Logistics Provider (3PL) กิจกรรมการสุ่มตรวจสอบสินค้าเพื่อตัดสินใจรับสินค้า ณ จุดรับสินค้าของโรงงานอาจทดแทนด้วย COA, On Site Audit และ Validate ด้วย Product Testing มากขึ้น การจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารจึงต้องเรียนรู้ เข้าใจ และดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการจัดการความปลอดภัยอาหารด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพลวัตทางธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน

 

การเปลี่ยนจาก the U.S. space program สู่ HACCP และ  HARPC

    จากเดิมที่เราเคยรู้จักคุ้นเคยกับดีกับโปรแกรมพื้นฐาน GMP และ ระบบ HACCP  ที่มีพื้นมาจากการผลิตอาหารที่ปลอดภัยให้กับนักบินอวกาศ   ซึ่งโปรแกรมการจัดการความปลอดภัยอาหารเชิงป้องของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มต้นจากการพัฒนาอาหารสำหรับ the U.S. space program ตั้งแต่ปี 1960 โดยก่อนการพัฒนาอาหารสำหรับ the U.S. space program จะเกิดขึ้น การควบคุมคุณภาพยังคงเน้นเรื่องการการทดสอบผลิภัณฑ์สุดท้าย ซึ่งพบว่าอาหารที่ปลอดภัยที่จะสามารถนำมาใช้กับโครงการอวกาศนั้นได้มีน้อยมาก การพัฒนาอาหารสำหรับโครงการอวกาศจึงหันมาเน้นการควบคุมอันตรายจากสูตรส่วนผสมและควบคุมกระบวนการผลิตเชิงป้องแทน เรียกแนวคิดนี้ว่า Hazard Analysis and Critical Control Point แนวคิดนี้ได้ถูกเริ่มนำไปใช้โดยอุตสาหกรรมอาหารแบบสมัครใจในระยะแรก เพราะช่วยกำจัดหรือลดอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์อาหารได้ให้เหลิอน้อยที่สุดได้ ในปี 1970  องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ใช้หลักการของ HACCP ในการพัฒนาระเบียบ Low-acid food regulation และในปี 1990 The U.S. National Advisory Committee on Microbiological Criteria for Human Foods (NACMCF) และ  The Codex Alimentarius  Commission (CODEX) ประกาศ HACCP Principles ซึ่งเป็นหลักการจัดการความปลอดภัยอาหารเชิงป้องกันที่ที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในสหรัฐอเมริกาเอง และประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย

    กฎหมายแม่บท Food Safety Modernization Act  (FSMA) มีที่มาจากกฎหมาย 2 ฉบับ ประกอบด้วย กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ (Public Health Security and  Bioterrorism Preparedness and Response Act) และกฎหมายอาหาร ยา และเครื่องสำอาง (Federal Food, Drug and Cosmetic Act)   (มกอช, 2559) ประธานธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา สหรัฐอเมริกาได้ลงนามประกาศบังคับใช้กฎหมายอาหารฉบับใหม่นี้ตั้งแต่ปี 2011 (4 มกราคม 2554)  อย่างไรก็ตามแม้ประกาศของกฎหมายแม่บทเริ่มบังคับใช้แต่ระเบียบย่อยหรือกฎหมายลูกที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนนั้นได้ทยอยประกาศมาตั้งแต่ ปี 2014 – 2016 โดยเริ่มบังคับใช้ข้อกำหนดให้โรงงานผลิตอาหารทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศที่ส่งสินค้าอาหารเข้ายังสหรัฐอเมริกาต้องต่อายุการจดทะเบียนโรงงานทุก 2 ปี ในเดือนตุลาคม 2012 และประกาศระเบียบย่อยอื่นๆ เสร็จสิ้นทั้งหมด 7 ฉบับเมื่อพฤษภาคม 2016   ระเบียบการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์ Current Good Manufacturing Practice and Hazard Analysis and Risk Based Preventive Controls for Human Food ที่ได้รับการกล่าวถึงมากในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบ Hazard Analysis and Ctrtical Control Point หรือ HACCP เดิมมาเป็น Preventive Controls for Human  เป็นเพียง 1 ในระเบียบย่อยทั้งหมด 7 ฉบับ

ระเบียบย่อย 7 ฉบับของกฎหมาย FSMA ประกอบด้วย

(1) ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์ (Current Good Manufacturing Practice, Hazard Analysis, and Risk Based Preventive Controls for Human Food, FSMA มาตรา 103)

(2) ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารสัตว์ (Current Good Manufacturing Practice, Hazard Analysis, and Risk Based Preventive Controls for Animal Food, FSMA มาตรา 103)

(3) ระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยของผลิตผลจากฟาร์ม (Standard for Growing,Harvesting, Packing and Holding of Produce for Human Consumption-Produce Safety Rule, FSMA มาตรา 105)

(4) ระเบียบว่าด้วยการป้องกันการปลอมปนโดยจงใจ (Mitigation Strategies to Protect Food Against Intentional Adulteration, FSMA มาตรา 106)

(5) ระเบียบว่าด้วยสุขลักษณะในการขนส่งอาหารมนุษย์และสัตว์ (Sanitary Transportation of Human and Animal Food, FSMA มาตรา 111)

(6) ระเบียบว่าด้วยโปรแกรมการตรวจทวนสอบซัพพลายเออร์จากต่างประเทศ (Foreign Supplier Verification Program (FSVP) Requirements for Importers of Food for Humans and Animals, FSMA มาตรา 301 )

(7) ระเบียบว่าด้วยการตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจประเมินบุคคลที่สาม (Accredited Third-Party Certification, FSMA มาตรา 307)

กำหนดระยะเวลาการดำเนินการสำหรับอุตสาหกรรมอาหารตามระเบียบว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์

    แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะมีระเบียบย่อยถึง 7 ฉบับ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของระเบียบต่างๆ แล้ว ระเบียบที่มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยในขณะนี้ก็เป็นระเบียบว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์ (Current Good Manufacturing Practice, Hazard Analysis, and Risk Based Preventive Controls for Human Food, FSMA มาตรา 103)  โดยระเบียบนี้ได้พัฒนาขีดความสามารถของการวิเคราะห์และควบคุมอันตรายในสถานประกอบการผลิตและแปรรูปอาหารสำหรับมนุษย์ซึ่งจดทะเบียนภายใต้กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพโดยใช้แนวทาง มาตรการควบคุมเชิงป้องกัน (Preventive Controls Measures) ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Plan)  ที่เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการ โดยต้องมีบุคคลที่ผ่านการอบรมและรับรองคุณสมบัติเป็น Preventive Controls Qualified Individual (PCQI) เป็นผู้เตรียมการจัดทำ Food Safety Plan รวมทั้งตรวจสอบการใช้ได้ กำกับการนำไปใช้ และทบทวนปรับปรุง  Food Safety Plan มีการกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านของการมี PCQI รับผิดชอบ Food Safety Plan ไว้แตกต่างกันตามขนาดของสถานประกอบการ โดยกำหนดให้สถานประกอบการที่มีพนักงาน 500 คนขึ้นไป ต้องมี PCQI จัดทำ Food Safety Plan ภายใน 19 กันยายน 2559 สถานประกอบการที่มีพนักงานน้อยกว่า 500 คนและมียอดขาย 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีขึ้นไป ต้องมี PCQI จัดทำ Food Safety Plan ภายใน 18 กันยายน 2560 และสถานประกอบการขนาดเล็กทั้งหมด ต้องมี PCQI จัดทำ Food Safety Plan ภายใน 17 กันยายน 2561 ระเบียบนี้ประกาศใช้กับสถานประกอบการทั้งหมดทั้งที่ผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกา และสถานประกอบต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยที่ผลิตสินค้าอาหารส่งไปยังสหรัฐอเมริกา

สรุป

  การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขอกฎหมายแม่บท Food Safety Modernization Act  (FSMA) มีการประกาศระเบียบย่อยทั้งสิ้น 7 ฉบับ ระเบียบที่มีกำหนดบังคับใช้กับอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือ ป็นระเบียบว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์ โดยเฉพาะอุตสหกรรมอาหารในประทศไทยซึ่งมีการส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐอเมริกาที่มียอดขาย 1 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นไปต้องดำเนินการให้มี PCQI และจัดทำ Food Safety Plan ภายใน 18 กันายน 2560 ต้องเปลี่ยนแปลงจากจัดทำ HACCP Plan ไปเป็น Food Safety Plan  โดยยังคงหลัการสำคัญคล้าย HACCP แต่ก็มีประเด็นที่เปลี่ยนแปลงและเพิมเติมอยู่หลายจุด โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมสารก่อภูมิแพ้ และ Supply Chain Program ที่แตกต่างไปจากระบบ HACCP เดิมที่เน้นการควบคุมจุด CCPs ภายในโรงงานผลิตอาหาร นอกจากนี้บุคคลากรใน HACCP Team ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติเข้มข้น เพียงแนะนำให้ประกอบด้วบบุคคลที่มีความรู้ทางจุลินทรีย์อาหาร เคมีอาหาร และกรรมวิธีแปรรูปอาหารแต่การจัดทำ Food Safety Plan กำหนให้มี PCQI อย่างน้อย 1 คน ใน Food Safety Team (ต้องการทราบ PCQI คือใคร คลิกอ่านบทความถามตอบ  PCQI คือ ใคร ทำไมอุตสหกรรมอาหารต้องมี PCQI)  ตอนที่ 2 จะอธิบายถึง ข้อกำหนดและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญตามระเบียบว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์

เรียบเรียงโดย ฝ่ายวิชาการและมาตรฐานหลักสูตรฝึกอบรม สถาบันฝึกอบรม FOOD PRO Training Academy เตรียมพบกับ กฎหมาย FSMA  ตอนที่ 2 จะอธิบายถึง ข้อกำหนดและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญตามระเบียบว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์ (Current Good Manufacturing Practice, Hazard Analysis, and Risk Based Preventive Controls for Human Food

เอกสารอ้างอิง

เจษฎา ทิพย์มณเฑียร 2560 การควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์   เอกสารประกอบการสอนวิชาระบบคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสหากรรมเกษตรและการจัดการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เจษฎา ทิพย์มณเฑียร 2559 การจัดการโซ่อุปทานเชิงบูรณาการเพือความปลอดภัยทางอาหาร  เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสหากรรมเกษตรและการจัดการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ.2559 Food Safety Modernization Act แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการตามกฎหมายการปรับปรุงความปลอดภันของอาหารให้ทันสมัยขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา

Food Safety Preventive Controls Alliance, 2016  Preventive Controls for Human Food: Participant Manual 1st Edition-2016 

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

Share this post

Subscribe to our newsletter

Keep up with the latest blog posts by staying updated. No spamming: we promise.
By clicking Sign Up you’re confirming that you agree with our Terms and Conditions.

Related posts